เมนู

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก
ฉะนี้แล.
จบโตเทยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 9

อรรถกถาโตเทยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 9


พึงทราบวินิจฉัยในโตเทยยสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้.
บทว่า วิโมกฺโข ตสฺส กีทิโส วิโมกข์ของผู้นั้นเป็นเช่นไร
โตเทยยมาณพทูลถามว่า วิโมกข์ของผู้นั้นพึงปรารถนาเช่นไร. บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีวิโมกข์อื่นแก่โตเทยย-
มาณพนั้น จึงตรัสคาถาที่ 2.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิโมกฺโข ตสฺส นาปโร คือ วิโมกข์
อย่างอื่นของผู้นั้นไม่มี. แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ความสิ้นตัณหา
นั้นแลเป็นวิโมกข์ โตเทยยมาณพก็มิได้เข้าใจความนั้น จึงทูลถามอีกว่า
นิราสโส โส อุท อาสสาโน ผู้นั้นไม่มีความหวังหรือยังมีหวังอยู่.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุท ปญฺญกปฺปี หรือมีความก่อด้วยปัญญา
คือก่อตัณหาหรือทิฏฐิด้วยญาณมีสมาปัตติญาณเป็นต้น.
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงบอกความนั้น แก่โตเทยย-
มาณพนั้น จึงกล่าวคาถาที่ 4.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กามภเว คือ ในกามและในภพ. บทว่า
รูเป นาสึสติ ไม่หวังในรูป คือไม่ปรารถนาในรูปารมณ์อันมีสมุฏฐาน 4.

แม้ในเสียงเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ราคะนั้นเป็นเครื่องกังวล เพราะ
อรรถว่า ห่วงใย หรือเครื่องกังวลคือราคะ เพราะอรรถว่า มัวเมา. แม้
ในเครื่องกังวลคือโทสะเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทที่เหลือในบท
ทั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือ
พระอรหัต.
อนึ่ง เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นครั้งก่อนนั้นแล.
จบอรรถกถาโตเทยยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 9

กัปปมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านกัปปะ


[366] (ท่านกัปปะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ธรรมอันเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลาง
สงสาร เมื่อห้วงกิเลสเกิดแล้ว เมื่อภัยใหญ่มีแล้ว ผู้อัน
ชราและมัจจุราชถึงรอบแล้ว อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกธรรมเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์ ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีก
อย่างไร.

[367] สงสาร คือ การมา การไป ทั้งการมาและการไป
กาลมรณะ คติ ภพแต่ภพ จุติ อุปบัติ ความบังเกิด ความแตก ชาติ
ชราและมรณะ ท่านกล่าวว่า สระ ในอุเทศว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ติฏฐตํ
ดังนี้.
แม้ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏ แม้ที่สุดข้างปลายแห่ง
สงสารก็ไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ ตั้งอยู่เฉพาะ พัวพัน เข้าถึง
ติดอยู่ น้อมใจ ไปแล้ว ในท่ามกลางสงสาร.
ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่ปรากฏอย่างไร วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้น
ชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างต้นแห่ง
สงสารย่อมไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นร้อยชาติเท่านี้ พ้น
จากนั้นย่อมไม่เป็นไป ย่อมไม่มีอย่างนั้น ที่สุดข้างต้นแห่งสงสารย่อมไม่
ปรากฏแม้อย่างนี้ วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นพันชาติเท่านี้ ... สิ้นแสนชาติ